- This topic has 23 replies, 20 voices, and was last updated 4 years, 1 month ago by
Natthida Sriboonvorakul.
-
AuthorPosts
-
-
2021-02-04 at 3:01 pm #25898
Saranath
Keymasterโปรดช่วยกันจับผิด จุดที่ควรแก้ไขใน CRF นี้ และบอกว่าควรแก้ไขเป็นอย่างไร ช่วยกันคนละ 1-2 จุด นะคะ
-
2021-02-09 at 4:18 pm #25980
Tulaya Dissaneewate
Participant1. Date ไม่ระบุว่าให้กรอกแบบใด
2. Occupation เป็น open-end question
3. ค่าน้ำหนักมีโอกาสเป็น จุดทศนิยม
4. โรคประจำตัว สามารถระบุให้เลือกได้เบื้องต้น หากมีโรคที่อาจจะสัมพันธ์กับการศึกษาที่สนใจ
5. ข้อมูลยาที่กินจะเยอะมาก ควร grouping ตาม hypothesis ที่สนใจ
6. temperature ไม่น่าจะถึง 3 หลัก
7. pulse ไม่น่าจะมีจุดทศนิยม
8. การตรวจร่างกายแต่ละ system น่าจะมีประเด็น specific ที่เกี่ยวข้องกับ elderly condition ที่ต้องการดูเฉพาะ เช่น HEENT: pale conjuctiva บ่งบอกถึง anemia ที่อาจจะมี poor nutrition ในกลุ่มผู้สูงอายุ -
2021-02-10 at 12:19 pm #25988
Sant Muangnoicharoen
Participantคำถามปลายเปิดเยอะมากจะลำบากในการลงข้อมูลและแปลผล
ไม่เห็นมีช่องเก็บ age
DOB เป็นidentifiable data ไม่ควรมี
โรคประจำตัวและยา เป็นปลายเปิด จะลงข้อมูลสับสนและไม่เป็นระบบ
ตรวจร่างกาย เป็นปลายเปิดก่อนจะdesign น่าจะต้องกำหนดให้ชัดว่าต้องการข้อมูลอะไร เพื่อวัดผลอะไร
-
2021-02-11 at 9:48 am #25998
Panai Laohaprasitiporn
Participantขออนุญาตเสริมครับ
– Family members น่าจะไม่ต้องให้กรอกว่ามีกี่คน แต่ให้ระบุใน age < 15 หรือ age >/= 15 ว่ามีกี่คนแทน เพื่อลด redundancy
– Family members มี cut-off value ของอายุซ้อนทับกันครับ น่าจะเป็น < 15 และ >/= 15 หรือ </= 15 และ > 15 แทนครับ
– BMI ไม่จำเป็นต้องกรอกครับ สามารถคำนวนได้ จากข้อมูล weight และ height ได้
– Temperature และ blood pressure ควรระบุ unit ที่ใช้ขอบพระคุณครับอาจารย์
-
2021-02-11 at 2:01 pm #26003
Kawin Wongthamarin
Participantผมพยายามหาประเด็นที่ไม่ซ้ำนะครับ
1.เรื่องการสูบบุหรี่ ถามจำนวน cigarettes/week ผมว่าคนที่ถูกถามจะจำไม่ได้และบางคนอาจจะมากกว่า 100มวน(แต่มีช่องให้กรอก2หลัก) ถ้าถามเฉลี่ยต่อวันอาจจะเหมาะสมกว่า ขึ้นกับคำถามงานวิจัย
2.Alcohol consumption การถาม units/week (ผมเข้าใจว่าเป็น standard drink) แปลว่าผู้ที่ทำหน้าที่กรอกแบบสอบถามต้องได้รับการเทรนอย่างดี ในการแปลงชนิดและปริมาตรของเครื่องดื่ม alcohol แต่ละชนิดถึงจะทำให้กรอกได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงสามารถแนะนำเสริมเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
ขอบคุณครับ -
2021-02-11 at 11:14 pm #26085
Sunee Neesanun
Participant1. Privacy data ควรเลี่ยงการเก็ยข้อมูลระบุตัวบุคคล Eg; DOB
2. Open End Question:
– Occupational น่าจะทำ Check box อาชีพที่เกี่ยวข้องบ่อยๆ กัยกลุ่มประชากรที่ศึกษา
– Underlying disease น่าจะทำ Check box โรคที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกับ outcome การศึกษา;
– การรักษาโรค U/D ก็น่าจะทำ Check Box ว่ายาที่ใช้คุมโรคอะไร
– Physical Examination: ควรทำ Check box + N/A ยิ่งถ้าเก็บจาก Source Doc ข้อมูลไม่น่าจะ Complete และอาจต้องเลือกเฉพาะส่วนที่เกีี่ยวข้องกับการศึกษานี้
3. ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลที่นำมานวณได้ -เช่น BMI
4. Unit ไม่ชัดเจน eg: BT หน่วยเป็น C or F -
2021-02-12 at 10:38 am #26086
Permyos Ruengsakulrach
Participant1. ตัด Date of Birth ให้เก็บเฉพาะ ปีที่เกิด ระบุ เป็น คศ. consistent กับ English form
2. Occupations ควร สร้าง choices ที่เป็น standard และมี choice สุดท้าย เป็น Others, specify ……..
3. Age ควรระบุ … years ไม่ต้อง Stratified ตอนเก็บข้อมูล
4. Smoking and Alcohol consumption ควรแยกรายละเอียด ในส่วนที่เป็นหัวข้อย่อย เพื่อ analysis, ปริมาณ cigarette/ week อาจถึง เลข 3 หลัก, ปริมาณ alcohol ควรมีคำอธิบายสั้นๆ ว่า Unit คืออะไร
5.Underlying diseases ควร สร้าง choices ที่เป็น standard และมี choice สุดท้าย เป็น Others, specify …….. และคำถามต่อมา medications/ treatments ต้องสร้าง 5-6 -ข้อย่อย สำหรับโรค Standard ที่ สร้างไว้ก่อนหน้านี้ แล้วมี ข้อสุดท้าย เป็น Others, specify ……..
6. BMI ไม่จำเป็น ไว้คำนวณทีหลัง
7. ระบุหน่วยของ Vital Signs ให้ชัดเจนPS. May I change my e-mail to pruengsakulrach@gmail.com
-
2021-02-12 at 12:07 pm #26087
Potsawat Vechpanich
Participantที่เห็นเพิ่มมีแค่
Weight & Height ถูกเก็บ 2 ครั้ง เป็น redundancy
-
2021-02-12 at 12:52 pm #26088
Samerjai Henprasertthae
Participant1.ไม่ควรมีการเก็บข้อมูล Date of Birth เพราะเป็น identifying data
2.ข้อ 6 occupational ไม่ควรเป็นคำถามปลายเปิด เพราะจะเสียเวลาในการ grouping เวลาจะวิเคราะห์ และมีความเสี่ยงเรื่องการอ่านลายมือผิด
3.ข้อ 8 family member อาจต้องระบุรายละเอียดในคู่มือการลงข้อมูลด้วยว่าครอบคลุมแค่ไหน เฉพาะที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน หรือ ทุกคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ฯลฯ member ที่อายุ 15 ปี ให้กรอกช่องไหน
4.ข้อ 9 ส่วนสูง น้ำหนัก หากมีจุดทศนิยมให้ลงกี่ตำแหน่ง หรือให้ปัดเป็นจำนวนเต็มอย่างไร ปัดขึ้นหรือปัดลง
5.ข้อ 11 unit of alcohol consumption เป็นแก้ว ขวด ออนซ์ หรือ ml
6.underlying disease หากขยายตรง yes ให้มี check boxes โรคที่พบบ่อยให้ แบบ all that apply และ other, specify และ design ให้มีความสอดคล้องกับยาที่ใช้อยู่ น่าจะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลง่ายขึ้น
7.หน้าตรวจร่างกาย มีการเก็บข้อมูล BW, Height ซ้ำ และไม่จำเป็นต้องเก็บ BMI เพราะเป็นข้อมูลที่โปรแกรมคำนวณให้ได้
8.Vital signs>ขาด Respiratory rate และค่าอื่นๆควรระบุหน่วย เช่น temperature ต้องการเป็นองศาเซลเซียสหรือฟาเรนไฮด์
9.ตรวจร่างกายตามระบบเป็นคำถามปลายเปิด อาจใช้เป็น check boxes ที่มีรายละเอียดเกี่ยวเนื่องกับประเด็นที่ต้องการศึกษา -
2021-02-12 at 10:21 pm #26089
Pimpet Sukumalpaiboon
Participant1 คำถามปลายเปิดมีอยู่หลายข้อ occupation underlying diseases medication เป็นแบบสอบถามสำหรับ elderly group สามารถ narrow down choice ได้้ตามที่ควรมี
2. Redundant question: vital signs ถาม 2ครั้ง
3. Unclear question: family member ควรระบุเพิ่มคำว่า family member number, units of drinking ควรระบุหน่วยที่ต้องการ -
2021-02-12 at 11:33 pm #26090
Saranath
Keymasterขอบคุณทุกท่านค่ะ ขออนุญาตรอผู้เข้าอบรมเข้ามาให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกหน่อย แล้วจะโพสต์เฉลยให้นะคะ
-
2021-02-13 at 7:39 pm #26107
Khanidtha Wongsa
Participantที่พบความผิดปกติของ CRF นี้มีดังนี้ค่ะ
1. ไม่ควรมี Date of Birth เพราะเป็นข้อมูลที่ Identify ถึงตัวบุคคลได้
2. การกรอก Occupational เองอาจจะมีความยากในการนำเข้าข้อมูลแบบ Text ซึ่งจะทำให้เกิดตัวแปรได้หลายตัวมากกว่าการสร้าง checkbox เพื่อ grouping ที่จะทำให้การ Analysis data ทำได้ง่ายกว่า
3. อายุไม่ควรไปอยู่หลังจาก Family member เพราะจะทำให้สับสนว่าเป็นอายุของใคร คนในบ้านหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ผู้ตอบสับสนควรนำไปอยู่แทนที่ Date of Birth เพราะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ควรถามก่อน
4. Smoking และ Alcohol consumption ควรมีการระบุว่าให้ตอบข้อใดข้อหนึ่ง(Instruction) บางคนอาจบอกว่าตอนนี้ไม่ได้สูบ แต่เคยสูบมาก่อนในอดีต อาจจะตอบได้ทั้งสองข้อ ต้องระบุให้ชัดเจนว่าตอบข้อใดข้อหนึ่งในตัวเลือกเท่านั้น
5. Medical conditions ตรง Underlying Disease ควรจะมี Checkbox เพื่อให้ตอบเพราะบางคนอาจจะเป็นหลายโรคและยากมากขึ้นเพราะตัวแปรอาจจะเป็น text
6. ไม่จำเป็นต้องมี BMI เนื่องจากเก็บน้ำหนักและส่วนสูงอยู่แล้ว ซึงสามารถนำมาคำนวณได้ในภายหลังตามหลักที่ควรจะทำคือควรหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่สามารถนมาคำนวณได้ภายหลังสามารถลดการเสียเวลาในการกรอกข้อมูลได้
7. Temperature ไม่ควรมี 3 ช่องเพราะโดยปกติอุณหภูมิไม่น่าจะเกินหลักสิบ
8. ฺBP ไม่ได้กำหนด Unit แต่ในตัวแปรอื่นมีการกำหนด Unit กำกับไว้
9. PE เป็นคำถามปลายเปิดทั้งหมด ซึ่ง CRF ที่ดีควรหลีกเลี่ยงคำถามปลายเปิด เนื่องจากจะทำให้ Data นัั่นมีตัวแปร Text ที่จะต้องนำมาผ่านอีกหลายกระบวนการซึ่งจะทำใหเกิดความยุ่งยากมากขึ้นค่ะขอบคุณค่ะ
-
2021-02-14 at 7:26 am #26108
Teeravee Hongyok
ParticipantD/m/y น่าจะกำกับ format ไว้ให้ด้วย เช่น พศ?
Occupation ควรทำ choices กลุ่มมาให้
หลายๆ data เป็น open end ควร desig choices มาเลย
BMI คำนวนทีหลังได้ ไม่ต้องกรอกใน CRF
Ht wt ถามซ้ำ
Family member ถามไม่ชัด อาจมีหลายคน มาก ละน้อยกว่าอายุ 15 ก็ได้ -
2021-02-14 at 1:38 pm #26109
Inchaya Sansak
Participant– Underlying disease หรือ meidcal illness ที่สำคัญ เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ที่เป็นโรคที่งานวิจัยสนใจ หรือ เป็นโรคที่พบบ่อยในพื้นที่ที่ทำการศึกษา อาจเป็น check box ไปเลย เป็นต้น ค่ะ
– Temperature ควรจะมีหน่วยวัดที่ชัดเจน และ Pulse ไม่ควรมีทศนิยม
– Physical examination อาจจะทำเป็นปลายปิด โดยใช้ Check box มาช่วย Normal /abnormal ( ข้อย่อย ) และ เพิ่มส่วนที่สำคัญกับโรคของผู้สูงวัย เช่น mental status
-Date of birth ไม่แน่ใจว่าควรจะมีหรือไม่คะ เพราะ trace ไปยังบุคคลได้? ( แต่ถ้าจะมีการให้กรอกวันที่ต่างๆ ที่เป็นกล่องๆ แบบใน form ควรต้องแจ้งว่า เป็น dd/mm/yyyy
-วันที่ทำการเก็บข้อมูล
-
2021-02-15 at 7:51 am #26114
Saowanee Tangmanowuthikul
Participantเห็นด้วยกับความเห็นที่ว่า ต้องทราบวัตถุประสงค์การวิจัยค่ะ ที่อยากปรับ CRF มีดังนี้
1. วันที่บันทึกข้อมูล เห็นด้วยว่า ต้องเขียนระบบชัดเจนว่า วัน เดือน ปีพ.ศ./ค.ศ.
2. Death of Birth โดยส่วนตัวชอบมากค่ะ เพราะ คำนวณอายุผิดบ่อย ถ้าวันที่จะทำให้ ระบุคนได้ เรียนถามขอลงข้อมูลเป็น เดือน ปี เกิดได้หรือไม่คะ
3. Participant No. ต้องมีความเชื่อมโยงกับ Identify บุคคล กังวลว่าจะผิดคน ตรงนี้ต้องทำระบบรัดกุมค่ะ และทำ Double entry ยิ่งดีค่ะ
4. เห็นด้วยกับ Occupation สามารถทำ Checked box ขึ้นกับคำถามวิจัยว่าเป็นอะไร เช่น แพทย์ พยาบาล Office หรืออาจจะต้องลงดป็น ชม.การทำงานต่อสัปดาห์
5. สถานะสมรส คู่สมรสตาย กับหย่าร้าง มีผลต่อสุขภาพ ? ขึ้นกับคำถามวิจัยค่ะ
6. Family member โดยส่วนตัว อยากเพิ่มอายุที่ถี่ > 15 ปี หรือ < 15 ปี เพื่อดูวัยพึ่งพิง และอยากรู้คนในบ้านเจ็บป่วยหรือไม่ ผู้ร่วมวิจัยต้องดูแลใคร
7. ส่วนของ Smoking ชอบที่แบ่ง ไม่สูบ เคยสูบ กำลังสูบ แต่จำนวนมวน ถ้าทำเป็นช่วงให้ลงคิดว่า น่าจะง่ายกว่า เช่น 0-5, 6-20, 21-50, 50-100 ฯลฯ ขึ้นกับคำถามวิจัยว่าอยากทราบว่าปริมาณเท่าไรที่อาจจะมีผลต่อสุขภาพ
8. ดื่มสุรา มีหลายดีกรีค่ะ คิดว่าถ้าสะดวกกับการลงข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ อาจต้องแยกเป็น เบียร์ ไวน์ บรั่นดี แล้วลงเป็นปริมาณ ml ต่อสัปดาห์
9. ส่วนของ Height และ Weight เห็นด้วยค่ะ ว่าลงเยอะไป ควรอยู่ที่ตรวจร่างกายค่ะ
10.ตรวจร่างกาย ขึ้นกับคำถามวิจัย โดยส่วนตัวปลายเปิดอย่างนี้ลงยากค่ะ -
2021-02-15 at 3:37 pm #26115
Naruemol Wichitsombut
Participant1. date of birth ควรระบุรูปแบบการลงข้อมูล เช่น DD/MM/YYYY หรือ MM/DD/YYYY
2. ระบุหน่วยของ Vital signs เช่น BT เป็น องศาเซลเซียส หรือ ฟาเรนไฮต์
3. Physical Examination ควรเป็นปลายปิด
4. น้ำหนัก ส่วนสูง มีการเก็บข้อมูลซ้ำ -
2021-02-15 at 11:26 pm #26116
Teerapol Manosaksaree
Participant1. เป็นการ survey สุขภาพผู้สูงอายุแห่งชาติของประเทศไทย แสดงว่าน่าจะมีหลาย study site แต่ใน CRF ไม่ได้ระบุหมายเลขของ study site
2. Demographic data- date of birth ไม่ควรระบุ เพราะถือว่าเป็น privacy ของ subject รวมทั้งไม่ได้ระบุว่าจะให้เก็บแบบ DD/MM/YYYY หรือ MM/DD/YYYY ไม่มีตัวอย่างแสดงว่าปี ควรเป็นพ.ศ. หรือ ค.ศ.
3. occupation ควรเป็น check box เพื่อให้สะดวกในการเก็บข้อมูล มากกว่าเป็น text แล้วต้องมาแปลงข้อมูลอีกครั้ง
4. vital sign ไม่มีหน่วยกำกับ
5. BMI ไม่ควรให้กรอก เพราะเป็นข้อมูลที่มาคำนวณภายหลังได้จากน้ำหนักและส่วนสูง
6.Physical exam เป็น open ended question ซึ่งทำให้มีปัญหาในการแปลง text เป็น coding ในภายหลัง
7. มีการเก็บข้อมูล weight and height ซ้ำ 2 ครั้ง เป็น redundancy -
2021-02-16 at 12:25 am #26117
Thundon Ngamprasertchai
Keymasterช่องการดื่มสุรากับสูบบุหรี่
– ควรระบุชัดเจนว่า ไม่เคยเลย never หรือเคยแต่หยุดแล้ว หรือยัง active
– แยกปริมาณที่สูบหรือดื่ม เป็นอีกข้อหนึ่งของคำถาม
– ระบุเป็นช่วงปี หรือเดือนที่หยุด รวมถึงจำนวนที่สูบตอนนั้น ไม่ควรให้ผู้กรอกคำนวณ mean quantity ตอนกรอก CRF ครับ -
2021-02-16 at 11:41 am #26118
Non Sowanna
Participant1. ตัวเลขที่ห้อยท้าย ในแต่ละตัวเลือก มีความหมายอย่างไรหรือไม่
2. Date of birth ไม่แน่ใจเรียง วัน เดือน ปี อย่างไร
3.ศาสนา ควรมีให้เลือกมากกว่านี้ และมีช้องให้เลือก สำหรับกลุ่มไม่นับถือศาสนาด้วย
4.อาชีพ ควรเป็นคำถามปลายปิด ให้มีตัวเลือก
5. Family member กับ อายุ สับสนในการให้ข้อมูล
6. ช่องการสูบบุรี่ ดื่มเหล้า ให้ระบุเป็นจำนวนที่ชัดเจน ที่เหลือผู้วิจัยมาคำนวนเอง ผู้กรอกน่าจะเมาไม่สามารถคำนวนได้
7.ช่องตรวจร่างกาย ในแต่ละระบบ จะให้ลงอย่างไร เช่น มีแต่ 3 ช่อง ปกติ ผิดปกติ ไม่สามารถตรวจได้-
2021-02-17 at 12:49 am #26119
Saranath
Keymasterตัวเลขที่ห้อยท้าย ในแต่ละตัวเลือก เป็นการ assign coding value ให้กับตัวแปรนั้น ๆ ค่ะ เพื่อช่วยให้สะดวกในการลงข้อมูล และการทำ annotated CRF (CRF ที่มีชื่อตัวแปรในฐานข้อมูลแปะไว้ด้วย และมี coding สำหรับคำตอบต่าง ๆ ในแต่ละตัวแปร) annotated CRF สามารถใช้แทน data dictionary ในกรณีที่ไม่ได้ทำ data dictionary (แต่ไม่ใช่ good practice นะคะ) เพราะจะมีชื่อตัวแปรแปะคู่กับคำถามแต่ละข้อ และมีตัวเลขห้อยที่เป็น coding ของ value ต่าง ๆ ในตัวแปรนั้น ๆ ค่ะ
-
-
2021-02-28 at 11:11 pm #26279
Asara Thepbunchonchai
Participant– redundancy เช่น ซ้ำซ้อนในส่วนของ demographic กับ PE, เก็บข้อมูลที่คำนวณทีหลังได้ อย่างเช่น BMI
– คำถามปลายเปิดเป็นส่วนมาก อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความถูกต้อง และการนำข้อมูลไปวิเคราะห์
– คำถามไม่ชัดเจน
– ไม่มีหน่วยกำหนด
ขอบคุณค่ะ อาจารย์ -
2021-03-02 at 7:29 pm #26302
Natthida Sriboonvorakul
ParticipantDate of birth ไม่ระบุวิธีกรอก
occupation เป็น open-ended Q ค่ะ
-
-
AuthorPosts
You must be logged in to reply to this topic. Login here